About me

รูปภาพของฉัน
การเป็นอาจารย์ ครู หรือติวเตอร์ อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่วัตถุประสงค์หลักไม่ต่างกัน คือ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ โดยการสอน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนของตน ให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลย์ ดังนั้น be Able by ครูโป่ง จึงได้สร้าง blog นี้ขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้แก่ผู้ที่สนใจในอีกช่องทางหนึ่ง โดยจะมีติวเตอร์ของเรานำประสบการณ์ที่ได้พบเจอมาถ่ายทอด เล่าสู่กันฟังค่ะ

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 3

การเรียนรู้ในระบบการศึกษาจะเกิดได้
ต้องอาศัยความร่วมมือกันของนักเรียนและคุณครูผู้สอน
ต่างฝ่ายต่างต้องทำหน้าที่ของตนเอง
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลทางการเรียนรู้

วันนี้เราจะมามองที่ ครูผู้สอน กันก่อน
ก็ต้องเข้าใจกันก่อนว่าอาจจะมีหลายๆปัจจัยเป็นตัวแปร
ต่อนโยบายการสอน แต่ทั้งนี้คนที่เป็นครูหรืออาจารย์
ก็ต้องยึดมั่นในอุดมการณ์และจรรยาบรรณเป็นสำคัญ

ดังนั้นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้อาจจะเรีมขึ้นมาโดยครูผู้สอน
ซึ่งบรรยากาศแห่งการเรียนรู้นั้น ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่เรียนหรือห้องเรียน ตัวคุณครูเอง
บรรยากาศภายในห้อง รวมทั้งรูปแบบการสอนของคุณครูแต่ละท่านด้วย
ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ก็สามารถไปสู้เป้าหมาย
ของการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ได้เช่นกันค่ะ

ติวเตอร์โป่งจะลองยกตัวอย่างบางส่วน ที่สามารถทำได้ง่ายๆ เลยนะคะ 

เช่น วันนี้คุณครูคิดดี จะมีสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ
เช้าวันนี้คุณครูคิดดี จึงเปิดตู้เสื้อผ้าแล้วก็หยิบเสื้อผ้าที่ใส่แล้วดู smart คล่องแคล่ว
ใครเห็นแล้วก็จะรู้สึกว่าเป็น working woman ประมาณนี้เลย ^^
แล้วก็ใส่ชุดนั้นไปสอน
พอถึงชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน

คุณครูคิดดี ก็เดินเข้าห้องเรียนด้วยท่าทางทะมัดทะแมง
ทักทายนักเรียนในห้องด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

ลองเดาซิคะ ว่าเกิดอะไรขึ้น...(อย่าลืมนะคะว่านี่คือห้องเรียนเด็กนักเรียนไทย)
ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก...
...วินาทีแรก นักเรียนจะอึ้งค่ะ...
555
ประมาณว่า "วันนี้ครูคิดดีกินไรผิดสำแดงมาป่าว(วะ) แต่งตัวผิดปกติ แถม สปีคอิงลิชอีกตะหาก"

คุณครูคนไทยอย่างครูคิดดี ซึ่งมีอุดมการณ์อย่างแรงกล้า
และมีความตั้งใจจริงที่จะสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
ก็ไม่มีหวั่นไหวค่ะ

สิ่งที่คุณครูคิดดีทำต่อไปคือ

วิธีที่1 โดยปกติ ในห้องเรียนหนึ่งๆ จะมีกลุ่มเด็กที่กล้าพูดกล้าแสดงออก
(ทั้งที่เฮี้ยว และ/หรือตั้งใจเรียนมากๆๆๆ)
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเป็นเป้าหมายแรกของคุณครูคิดดีค่ะ
ที่จะสร้างบทสนทนาเริ่มแรกของวันนี้
ซึ่งหัวข้อที่เลือกมาสนทนา ก็หนีไม่พ้นที่จะคุยเรื่องการแต่งตัวของครูในวันนี้
ชวนคุยไปเรื่อยๆ และพยายามกระจายกลุ่มการสนทนาให้ใหญ่ขึ้น
จนนักเรียนทั้งห้องเข้ามาอยู่ในการสนทนานี้
แล้วก็เข้าสู่บทเรียนแบบเนียนๆค่ะ
แบบนี้จะ happy ending วิี้วๆๆๆๆ ^^

วิธีที่ 2 ในกรณี ที่ทุกคนอึ้ง จนไม่มีใครโต้ตอบบทสนทนาของคุณครูคิดดีเลย
คุณครูคิดดีก็ไม่แคร์ค่ะ เพราะคิดไว้อยู่แล้ว
คุณครูจึงเปลี่ยนจากการพูดภาษาอังกฤษ มาใช้ภาษาไทย แบบเนียนๆ
แต่หัวข้อในการสนทนายังคงเป็นเรื่องการแต่งตัวของครูคิดดีในวันนี้
คลอบคลุมเรื่องบุคลิกภาพของนักธุุรกิจด้วย
เพื่อให้เกิดการโต้ตอบกันของนักเรียนกับครู 
สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนร่วมและสนุกกับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนักธุรกิจ
การแต่งตัว และการทำงานของนักธุรกิจ
โดยคุณครูคิดดีแอบแทรกบทสนทนาภาษาอังกฤษเข้าไปนิดหน่อย
แบบไม่ให้นักเรียนรู้ตัวและตกใจ
สลับกับบทสนทนาภาษาไทย
แล้วก็เข้าสู่บทเรียนแบบเนียนๆค่ะ
แบบนี้จะ happy ending ไปอีกแบบค่ะ วิี้วๆๆๆๆ ^^

แค่นี้ บรรยาการแห่งการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นโดยตัวของคุณครูผู้สอนเองก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ป.ล. เคล็ดลับอยู่ที่คุณครูจะต้องรู้ว่านักเรียนแต่ละห้องเป็นยังไง
ต้องจับทางนักเรียนให้ถูก และเลือกเทคนิคมาใช้ให้เหมาะสมค่ะ ^^

เพราะเทคนิคนึง อาจจะเหมาะกับนักเรียนกลุ่มนี้
แต่อาจจะเป็นมุขแป้กกับนักเรียนอีกกลุ่มนึงก็ได้นะคะ

ไว้คราวหน้าติวเตอร์โป่งจะมายกตัวอย่างของห้องเรียนแห่งการเรียนรู้นะคะ
อย่าลืมติดตามกันนะคะ
....

ติวเตอร์โป่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น