About me

รูปภาพของฉัน
การเป็นอาจารย์ ครู หรือติวเตอร์ อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่วัตถุประสงค์หลักไม่ต่างกัน คือ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ โดยการสอน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนของตน ให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลย์ ดังนั้น be Able by ครูโป่ง จึงได้สร้าง blog นี้ขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้แก่ผู้ที่สนใจในอีกช่องทางหนึ่ง โดยจะมีติวเตอร์ของเรานำประสบการณ์ที่ได้พบเจอมาถ่ายทอด เล่าสู่กันฟังค่ะ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 6

จากกระทู้ การเรียน และ การเรียนรู้ ตอนที่ 2 3 4 5
ติวเตอร์โป่งได้กล่าวถึง ครูผู้สอน และห้องเรียนไปแล้ว
หลังจากนี้ ติวเตอร์โป่งจะกล่าวถึง นักเรียน กันบ้างนะคะ

การที่จะเกิดการเรียนรู้นั้น
นักเรียน ซึ่งเป็นตัวผู้เรียนเอง ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากๆๆ
ในการเรียนรู้สิ่งที่กำลังเรียนอยู่

เพราะทั้งคุณครู และบรรยากาศในห้องเรียน 

ต่างก็เป็นปัจจัยภายนอกที่นักเรียนไม่สามารถควบคุมได้

ดังนั้นสิ่งที่นักเรียนจะควบคุมได้ คือ ตัวเอง นะคะ (ปัจจัยภายใน)

ครั้งหนึ่ง ติวเตอร์โป่งได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายของ อาจารย์พิพิธ พุ่มแก้ว
ท่านได้ให้ข้อคิดว่า
"ปรับความคิด ชีวิตเปลี่ยน"
ความหมายก็คือ คนเราอยู่ในสังคม ย่อมต้องพบเจอพฤติกรรม การกระทำของคน
หรือสิ่งแวดล้อมที่เราไม่ชอบ
ซึ่งในหลายๆอย่าง เราก็ไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม
ความเชื่อ ของคนเหล่านั้นได้ หรือจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เราไม่ชอบนั้น

ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมากระทบกับความรู้สึกเรา ทำให้เราเป็นทุกข์
คนอื่นๆในสังคม และ สิ่งแวดล้อม
เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปดังใจเราหวังได้ทุกอย่าง

ดังนั้น เราลองหันกลับมามองตัวเอง มองความคิดตัวเอง
มองที่ใจตัวเอง
เพียงแค่เราปรับความคิดของเราเพียงนิดเดียว
ความสุขก็เกิดขึ้นได้ค่ะ
(อย่าไปทุกข์กับสิ่งนั้น แล้วให้มองไปข้างหน้า)

ติวเตอร์โป่งได้นำข้อคิดนี้มาใช้ โดยคิดซะว่า
เรากำลัง ดูละครฉากหนึ่ง ที่มีเขาเป็นผู้แสดง
เดี๋ยวละครฉากนั้นก็จบ แล้วเราจะเอามาเป็นสาระ เอามาเป็นอารมณ์ทำไม จริงมั้ยคะ ^^

ส่วนตัวเรา ก็ทำตัวเราเองให้ดี

พูดมาซะยาว แล้วเกี่ยวกับนักเรียนที่กำลังเรียนตรงไหนคะติวเตอร์โป่ง

 แหม เกี่ยวแน่นอนค่ะ

อย่างนักเรียนที่คิดว่า "คุณครูสอนไม่รู้เรื่องเลย" "คุณครูคนนี้ไม่เห็นจะเก่งเลย" 
"ห้องเรียนเก่าสุดๆ ไม่อยากเข้าไปนั่งเลย"
"เราก็เป็นแค่เด็กนักเรียนต่างจังหวัด(อันไกลโพ้น)คนหนึ่ง"
หรืออะไรก็แล้วแต่จะบ่น จะน้อยใจ กันไป
ก็ไม่ต้องบ่นหรือน้อยใจไปค่ะ
เพราะถ้าเราปรับความคิด ปรับมุมมอง
ประพฤติตัวให้ดี ขยันเรียน ทำตัวเองให้ดี
 เราก็สามารถเรียนรู้ได้ค่ะ

ตัวอย่างเช่น คุณครูที่สอนเรา อาจจะไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เราเข้าใจโดยถ่องแท้ได้
เราก็ไม่สามารถที่จะไปปรับอะไรคุณครูได้มาก
เราก็ไม่ต้องไปเครียด หรือท้อแท้ หรือกล่าวโทษคุณครู
เพราะถึงทำไป ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา
แต่ที่เราทำได้ก็คือ เราสามารถที่จะอ่านหนังสือให้มากขึ้น ตั้งกลุ่มติวกับเพื่อนๆ
เรียนพิเศษเพิ่มเติม หรือหาหนังสือดี ที่เราอ่านแล้วเข้าใจมาอ่านเพิ่มเติม เป็นต้น นั่นเองค่ะ
คิดแบบนี้ ทำแบบนี้ ผลดีก็ตกอยู่กับตัวเรา จริงมั้ยคะ (แถมยังไม่เครียดด้วย) ^^

เช่นเดียวกันกับนักเรียนต่างจังหวัด
ติวเตอร์โป่งเองก็เป็นนักเรียนต่างจังหวัดนะคะ
(3 จังหวัดชายแดนใต้เลยด้วยซ้ำ)
แต่ก็สามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยได้
ก็ด้วยความมุมานะ ความขยัน ความตั้งใจ และไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาค่ะ
 ยิ่งในปัจจุบันนี้มีอินเทอเน็ต ทำให้นักเรียนสามารถหาหนังสือดีๆ มาอ่านได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
มีทั้งที่เป็น eBook หรือการสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ ให้สามารถเลือกได้ตามแต่สะดวก

ดังนั้น ติวเตอร์โป่งขอเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนทุกคน
ขอให้อย่านำปัจจัยภายนอกมาเป็นข้ออ้างหรือเป็นข้อจำกัดในการเรียนของตัวเองนะคะ
ให้เปิดใจให้กว้าง แล้วจะรู้ว่าตัวเราเองนั้นยังมีศักยภาพอีกมากมายทีเดียวเลยค่ะ ^^

!!!!! Fighto Fighto !!!!

เจอกันใหม่ตอนต่อไปนะคะ ^^


ติวเตอร์โป่ง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 5

วันนี้ติวเตอร์โป่งนำตัวอย่างห้องเรียนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ในประเทศไทยมาให้ดูกันค่ะ

ตามมาเลยค่ะ ^^


ห้องเรียนห้องหนึ่งของ โรงเรียนประถมศึกษานาศิริ อ.เชียงดาว
มีการใช้โทนสีฟ้าในห้องเรียน 
ซึ่งเป็นสีที่ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่ง ความเป็นอิสระ การช่วยเหลือ การแบ่งปัน
ซึ่งเหมาะมากที่ถูกเลือกใช้ในการทาสีห้องของนักเรียนประถม
ซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัว การเข้าสังคม เรียนรู้ที่จะแบ่งปันค่ะ
นอกจากนี้ ภาพวาดบนผนังห้องยังช่วยให้เด็กนักเรียนรู้สึกสดชื่น สนุกสนาน เสริมสร้างจินตนาการ
เสริมทักษะภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และรู้จักสัตว์ทะเล อีกด้วย  
ประกอบกับมุมหนังสือที่พร้อมให้เด็กๆ เข้ามาเลือกอ่านได้ตามใจชอบ

ตอบโจทย์ห้องเรียนที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ
ที่มา: http://www.thailandoffroad.com/myschool/webboard/question.asp?page=3&ID=20083


ห้องนี้เป็นห้องเรียนของเด็กอนุบาล อนุบาลสถาพร
สังเกตุว่าจะมีสื่อการสอนครบครัน
และหลากสีสันซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆของเด็กในวัยนี้ได้ดีค่ะ

ที่มา: http://www.sapaporn1.com/index.php?mo=18&display=view_single&pid=462530




 ห้องที่เห็นอยู่นี้ อยู่ที่ TK park Bangkok ค่ะ
ไม่เป็นแค่ห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องการที่จะให้เกิดเป็น
อุทยานการเรียนรู้
 ภายใต้สโลแกน
หนังสือ + ดนตรี + กิจกรรม + มัลติมีเดีย = จินตนาการไม่รู้จบ
โดยภายใน TK park ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นห้อง

 เช่น ห้องสมุดไอที ห้องสมุดมีชีวิต ห้องสมุดเด็ก ห้องเงียบ ห้องสมุดดนตรี เป็นต้น
ซึ่งแต่ละห้องมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันค่ะ
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเรียนรู้ในหลายแขนงวิชา
TK park เป็นสถานที่ที่เหมาะกับเด็กทุกๆวัยเลยนะคะ
ที่สำคัญ ผู้ใหญ่วัยทำงานก็ไปได้ค่ะ
เพราะการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุดนะคะ ^^

ที่มา: http://www.tkpark.or.th/tk/

ติวเตอร์โป่ง

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 4

วันนี้ติวเตอร์โป่งขอเล่าถึงห้องเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้นะคะ
ห้องเรียนหรือสถานที่เรียน เป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ห้อมล้อมนักเรียนและครูผู้สอน
ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะส่งผลมายัง อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ของทั้งนักเรียนและครู
ดังนั้นการที่เราสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกให้เกิดขึ้นในห้องเรียน
ก็เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ได้ค่ะ

สภาพทางกายภาพของห้องเรียนนั้น ยกตัวอย่างเช่น ทำเลที่ตั้ง รูปแบบห้องเรียน
โทนสีภายในห้อง (แม้กระทั้งวัสดุในการก่อสร้างและการตกแต่ง)
แสงสว่าง ระบบเสียง อุณหภูมิภายในห้อง การระบายอากาศ
สภาพโต๊ะเก้าอี้รวมถึงการจัดเรียง การตกแต่งห้อง อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น

ติวเตอร์โป่งจะอธิบายโดยการยกตัวอย่างนะคะ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆค่ะ




ห้องเรียนห้องแรก เป็นห้องเรียนของเด็กมัธยมแห่งหนึ่ง ในรัฐ Minnesota ค่ะ
โดยใช้ Yoka ball มาประยุกต์เป็นเก้าอี้ ให้เด็กนักเรียนนั่งในชั่วโมงเรียน
แนวคิดของการจัดห้องนี้ มาจาก มีผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวไว้ว่า
เด็กนักเรียนจะสามารถจดจำได้ดีขึ้น หากมีการเคลื่อนไหวในระหว่างเรียนนั่นเองค่ะ

เป็นไงคะห้องนี้ ไอเดียดี แถมมีงานวิจัยสนับสนุนอีกด้วย ^^
ที่มา:
http://www.yogadork.com/news/bits-of-the-day-yoga-balls-in-the-classroom-bikram-endorses-ca-desert-former-lululemon-ceo-moves-on/



ห้องเรียนห้องต่อมาค่ะ เป็นห้องเรียนที่เน้นการใช้โทนสีที่สบายตา การจัดห้องเป็นระเบียบ
โดยมีผนังด้านหนึ่งเป็นกระจกใส ที่สามารถมองออกไปเห็นสวนหย่อมสวยๆ
ให้ความรู้สึกโล่ง สบาย ไม่อึดอัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจิตนาการ ความคิดที่เปิดกว้าง
ถ้าได้นั่งเรียนในห้องเรียนแบบนี้ ให้เรียนทั้งวันก็ไหวค่ะ จริงมั้ยคะ
ที่มา: http://www.ccfs-sorbonne.fr/IMG/jpg/estrapade-classroom-5.jpg




ห้องเรียนที่ 3 เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งจุดสำคัญของห้องนี้จะอยู่ที่
อุปกรณ์การเรียนที่ครบครัน ซึ่งความพร้อมของอุปกรณ์การเรียน
จะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น (ในแง่ดีนะคะ)
สงสัยใคร่รู้ และต้องการหาคำตอบ อาจจะด้วยการทดลอง หรือสอบถามครู
บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ก็เกิดขึ้นค่ะ
ที่มา: http://mynasadata.larc.nasa.gov/classroom.html




ห้องเรียนนี้ แปลกตามากใช่มั้ยคะ 
ห้องนี้อยู่ที่ Germany architecture building Mann Elementary School
เป็นตัวอย่างของการออกแบบห้องเรียนโดยอาศัยหลักสถาปัตยกรรม
เน้นโครงสร้างและการออกแบบที่ทันสมัย เกิดเป็นห้องเรียนที่มีความสวยงาม
และด้วยดีไซน์ที่แปลกตา ช่วยสร้างบรรยากาศกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ๆ ค่ะ

จุใจเลยมั้ยคะ กับห้องเรียนสวยๆ เก๋ๆ ที่ไม่ได้มีดีอยู่แค่นี้
แต่ยังอัดแน่นไปด้วยบรรยากาศที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย

ติวเตอร์โป่ง

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

2 คน 2 สิ่ง...ทำไมจำยากจัง

ช่วงนี้ติวเตอร์โป่งเจอปัญหาใหญ่
เรื่องการจำของ 2 สิ่ง ที่คู่กัน หรือมาพร้อมๆกัน
พาลให้จำสลับกันทุกที

เลยเริ่มรู้สึกว่า เราคงจะเริ่มแก่แล้วจริงๆ...เฮ้อ

ถึงจะแก่ ก็ไม่เป็นไร เพราะถึอคติที่ว่า "Young at Heart" ละกัน 
ถึงแม้จะอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าใจยังเป็นวัยรุ่นอยู่
ก็จะมีพลังที่จะทำโน่นทำนี่เหมือนคนอายุน้อยๆ นั่นแหละค่ะ ^^

เอาหล่ะ เมื่อปัญหาเกิด ก็ต้องหาทางแก้ไข
(เมื่อเจอปัญหา เราต้องคิด แต่ไม่ต้องเครียด)

ว่าแล้วก็คิดย้อนกลับไปเมื่อตอนยังเรียนหนังสือ
ติวเตอร์โป่งเรียนมาทางวิทยาศาสตร์
ด้วยเนื้อหาที่เรียน ทำให้ต้องทำความเข้าใจ และท่องจำ ควบคู่กันไป
สำหรับหลักการท่องจำของติวเตอร์โป่งนั้น เป็นแบบไทยๆค่ะ

ที่ว่าแบบไทยๆ นั้นก็คือ...
จำด้วยการสร้างคำคล้องจอง คำพ้องเสียง นั่นเอง

มาลองดูตัวอย่างนะคะ

เลฟ ซ้าย ร้าย ขวา
เป็นการสร้างคำคล้องจองง่ายๆเพื่อช่วยจำ
 ภาษาอังกฤษคำว่า Left (ซ้าย) และ Right (ขวา) นั่นเองค่ะ

 "ภูกะดึง" อาศัยหลักของการ พ้องเสียง
Pull กะ ดึง
เพื่อช่วยในการจำคำ 2 คำ คือ
Pull (ดึง) และ Push (ผลัก)

Blue Base Red Acid
เป็นหลักการจำสำหรับกระดาษลิสมัส (สำหรับทดสอบความเป็นกรดด่างของสสาร)
โดยอาศัยหลักของการเปลี่ยนสีของกระดาษลิสมัสเป็นเกณฑ์ในการจำ
คือ ถ้ากระดาษลิสมัสสีฟ้า หรือให้ผลเป็นสีฟ้า แสดงว่า สารที่ทดสอบเป็นด่าง
กำหนดหลักการจำเป็น Blue Base(ด่าง) นั่นเอง
ในทางกลับกัน ถ้ากระดาษลิสมัสสีแดง หรือให้ผลเป็นสีแดง แสดงว่า สารที่ทดสอบเป็นกรด
กำหนดหลักการจำเป็น Red Acid(กรด) นั่นเอง
และให้จำง่ายขึ้นด้วยการสร้างให้เกิดคำคล้องจอง ก็จะได้ว่า
Blue Base Red Acid  นั่นเองค่ะ

ว่าแล้วติวเตอร์โป่งก็ขอตัว ไปแก้ปัญหาด้วยหลักการจำข้างต้นก่อนนะคะ ^^
เจอกันใหม่ตอนหน้าค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=173025

ติวเตอร์โป่ง

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 3

การเรียนรู้ในระบบการศึกษาจะเกิดได้
ต้องอาศัยความร่วมมือกันของนักเรียนและคุณครูผู้สอน
ต่างฝ่ายต่างต้องทำหน้าที่ของตนเอง
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลทางการเรียนรู้

วันนี้เราจะมามองที่ ครูผู้สอน กันก่อน
ก็ต้องเข้าใจกันก่อนว่าอาจจะมีหลายๆปัจจัยเป็นตัวแปร
ต่อนโยบายการสอน แต่ทั้งนี้คนที่เป็นครูหรืออาจารย์
ก็ต้องยึดมั่นในอุดมการณ์และจรรยาบรรณเป็นสำคัญ

ดังนั้นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้อาจจะเรีมขึ้นมาโดยครูผู้สอน
ซึ่งบรรยากาศแห่งการเรียนรู้นั้น ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่เรียนหรือห้องเรียน ตัวคุณครูเอง
บรรยากาศภายในห้อง รวมทั้งรูปแบบการสอนของคุณครูแต่ละท่านด้วย
ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ก็สามารถไปสู้เป้าหมาย
ของการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ได้เช่นกันค่ะ

ติวเตอร์โป่งจะลองยกตัวอย่างบางส่วน ที่สามารถทำได้ง่ายๆ เลยนะคะ 

เช่น วันนี้คุณครูคิดดี จะมีสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ
เช้าวันนี้คุณครูคิดดี จึงเปิดตู้เสื้อผ้าแล้วก็หยิบเสื้อผ้าที่ใส่แล้วดู smart คล่องแคล่ว
ใครเห็นแล้วก็จะรู้สึกว่าเป็น working woman ประมาณนี้เลย ^^
แล้วก็ใส่ชุดนั้นไปสอน
พอถึงชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน

คุณครูคิดดี ก็เดินเข้าห้องเรียนด้วยท่าทางทะมัดทะแมง
ทักทายนักเรียนในห้องด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

ลองเดาซิคะ ว่าเกิดอะไรขึ้น...(อย่าลืมนะคะว่านี่คือห้องเรียนเด็กนักเรียนไทย)
ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก...
...วินาทีแรก นักเรียนจะอึ้งค่ะ...
555
ประมาณว่า "วันนี้ครูคิดดีกินไรผิดสำแดงมาป่าว(วะ) แต่งตัวผิดปกติ แถม สปีคอิงลิชอีกตะหาก"

คุณครูคนไทยอย่างครูคิดดี ซึ่งมีอุดมการณ์อย่างแรงกล้า
และมีความตั้งใจจริงที่จะสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
ก็ไม่มีหวั่นไหวค่ะ

สิ่งที่คุณครูคิดดีทำต่อไปคือ

วิธีที่1 โดยปกติ ในห้องเรียนหนึ่งๆ จะมีกลุ่มเด็กที่กล้าพูดกล้าแสดงออก
(ทั้งที่เฮี้ยว และ/หรือตั้งใจเรียนมากๆๆๆ)
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเป็นเป้าหมายแรกของคุณครูคิดดีค่ะ
ที่จะสร้างบทสนทนาเริ่มแรกของวันนี้
ซึ่งหัวข้อที่เลือกมาสนทนา ก็หนีไม่พ้นที่จะคุยเรื่องการแต่งตัวของครูในวันนี้
ชวนคุยไปเรื่อยๆ และพยายามกระจายกลุ่มการสนทนาให้ใหญ่ขึ้น
จนนักเรียนทั้งห้องเข้ามาอยู่ในการสนทนานี้
แล้วก็เข้าสู่บทเรียนแบบเนียนๆค่ะ
แบบนี้จะ happy ending วิี้วๆๆๆๆ ^^

วิธีที่ 2 ในกรณี ที่ทุกคนอึ้ง จนไม่มีใครโต้ตอบบทสนทนาของคุณครูคิดดีเลย
คุณครูคิดดีก็ไม่แคร์ค่ะ เพราะคิดไว้อยู่แล้ว
คุณครูจึงเปลี่ยนจากการพูดภาษาอังกฤษ มาใช้ภาษาไทย แบบเนียนๆ
แต่หัวข้อในการสนทนายังคงเป็นเรื่องการแต่งตัวของครูคิดดีในวันนี้
คลอบคลุมเรื่องบุคลิกภาพของนักธุุรกิจด้วย
เพื่อให้เกิดการโต้ตอบกันของนักเรียนกับครู 
สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนร่วมและสนุกกับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนักธุรกิจ
การแต่งตัว และการทำงานของนักธุรกิจ
โดยคุณครูคิดดีแอบแทรกบทสนทนาภาษาอังกฤษเข้าไปนิดหน่อย
แบบไม่ให้นักเรียนรู้ตัวและตกใจ
สลับกับบทสนทนาภาษาไทย
แล้วก็เข้าสู่บทเรียนแบบเนียนๆค่ะ
แบบนี้จะ happy ending ไปอีกแบบค่ะ วิี้วๆๆๆๆ ^^

แค่นี้ บรรยาการแห่งการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นโดยตัวของคุณครูผู้สอนเองก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ป.ล. เคล็ดลับอยู่ที่คุณครูจะต้องรู้ว่านักเรียนแต่ละห้องเป็นยังไง
ต้องจับทางนักเรียนให้ถูก และเลือกเทคนิคมาใช้ให้เหมาะสมค่ะ ^^

เพราะเทคนิคนึง อาจจะเหมาะกับนักเรียนกลุ่มนี้
แต่อาจจะเป็นมุขแป้กกับนักเรียนอีกกลุ่มนึงก็ได้นะคะ

ไว้คราวหน้าติวเตอร์โป่งจะมายกตัวอย่างของห้องเรียนแห่งการเรียนรู้นะคะ
อย่าลืมติดตามกันนะคะ
....

ติวเตอร์โป่ง

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

** ลดลง แต่กลับ ได้มากขึ้น **

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ติวเตอร์โป่งได้รับ forward mail จากเพื่อนคนหนึ่ง
ที่ไม่ได้พูดคุยกันนานแล้ว มีเพียงการส่ง forward mail หากันเท่านั้น
สิ่งที่แนบมาพร้อมกับ mail นั้นมีเพียงแค่ไฟล์ .gif ธรรมดา 1 ไฟล์
แต่พอติวเตอร์โป่งเปิดไฟล์ดู
.
.
...กลับเป็นไฟล์ที่ทำให้ตัวเองอ่าน และคิดตามอยู่นาน...

ซึ่งจะต่างจากปกติที่เมื่อได้รับ forward mail ที่มีข้อความยาวๆ
ก็เกิดอาการไม่อยากอ่านขึ้นมาซะงั้น - -"

แต่ mail นี้ กลับไม่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น

หลังจากอ่านจบแล้ว จึงตัดสินใจที่จะ forward ต่อไปให้เพื่อนๆ

วันนี้ ติวเตอร์โป่งจึงขอนำมาแบ่งปันที่นี่ด้วยละกันค่ะ
 แต่คิดว่าน่าจะมีหลายๆคน เคยอ่าน หรือเห็นผ่านตามาบ้างแล้ว
แต่ไม่เป็นไรนะคะ
เพราะการอ่านซ้ำๆ คิดบ่อยๆ จะก่อให้เกิด  การเรียนรู้  ค่ะ (แอบมีสาระนิดนึง ^^)


สุดท้ายขอขอบคุณผู้ที่คิดและสร้างสรรค์ไฟล์นี้
ที่ตกตะกอนความรู้ และนำมาเผยแพร่ในโลกอินเตอร์เน็ทค่ะ ^_^

ติวเตอร์โป่ง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้ 2

การที่จะสร้างให้เกิดการเรียนรู้นั้น มีอยู่หลายทฤษฎีที่มีผู้รู้ได้อธิบายไว้
มีอยู่ทฤษฎีนึงที่ติวเตอร์โป่งมักจะนำมาใช้กับตัวเอง และกับนักเรียน ก็คือ

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
ซึ่งกล่าวไว้ว่า ใน 3 องค์ประกอบ คือ

ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน

การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

ติวเตอร์โป่งจะยกตัวอย่างการกระยุกต์ใช้ทฤษฎีของไทเลอร์ ในตอนต่อไปนะคะ ^^
ติวเตอร์โป่ง

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน และ การเรียนรู้

น้องๆหลายคนคงสงสัยว่า
ทำไมนะ ที่เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ระดับอนุบาลหรือระดับประถม
จนตอนนี้ยังก็ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ

ลองมาทำความเข้าใจกันนะคะ

การเรียน ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า studying
เป็นการศึกษา หาความรู้ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการฟัง อ่าน จด และจำ
จากผู้มีประสบการณ์ เช่น ครู พ่อแม่ หรือแม้กระทั่ง หนังสือ
 ซึ่งเราอาจจะเข้าใจไม่ทั้งหมด หรือจำได้เพียงบางส่วน บางตอน
ทำให้วันใดวันหนึ่งเราก็อาจจะลืมไป
แต่ การเรียนรู้ นั้นจะตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า learning
ซึ่เป็นกระบวนการที่ทำให้คนนำสิ่งที่เรียน สิ่งที่รู้
มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด ในการใช้ชีวิตประจำวัน
มีการนำสิ่งที่รู้มาประยุกต์ใช้ 

แล้วเราจะเริ่มที่จะสร้างการเรียนรู้ได้ยังไงล่ะ
...ติดตามตอนต่อไปค่ะ...

ติวเตอร์โป่ง