About me

รูปภาพของฉัน
การเป็นอาจารย์ ครู หรือติวเตอร์ อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่วัตถุประสงค์หลักไม่ต่างกัน คือ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ โดยการสอน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนของตน ให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลย์ ดังนั้น be Able by ครูโป่ง จึงได้สร้าง blog นี้ขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้แก่ผู้ที่สนใจในอีกช่องทางหนึ่ง โดยจะมีติวเตอร์ของเรานำประสบการณ์ที่ได้พบเจอมาถ่ายทอด เล่าสู่กันฟังค่ะ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จิตสาธารณะ คืออะไรนะ ?

"รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ"
คำขวัญวันเด็ก ปี 2554 จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย 
ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า


          รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต

          รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย

          จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย
จากคำขวัญวันเด็กปี 2554 นี้ มีคำว่า 'จิตสาธารณะ' 
ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้แนวคิดของคำนี้ไว้แล้ืวนั้น

ติิวเตอร์โป่งก็ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม
เ้พราะเห็นว่าคำนี้ เป็นคำใหม่ และที่สำคัญ เราจะเริ่มได้ยินกันบ่อยมากขึ้น มาตลอดทั้งปี 2553
และแน่นอนว่า คงได้ยินไปอีกทั้งปี 2554 แน่นอน ^^

จิตสาธารณะ ยังมีคำเรียกอื่นที่มีความหมายคล้ายกันมาก คือ
จิตสำนึกสาธารณะ จิตอาสา
ตรงกับคำภาษาอังกฤษที่ว่า Public mind หรือ Public Consciousness
มีผู้ให้ความหมายไว้หลายบริบท 
ติวเตอร์โป่งจึงขอยกมาหลายๆบริบท เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆนะคะ
ความหมายของจิตสาธารณะ
จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจเพื่อส่วนรวมโดยแสดงออกด้วยการอาสาไม่มีใครบังคับ
การที่บุคคลตระหนักรู้และคำนึงถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมและสังคม เห็นคุณค่าในการเอาใจใส่ 
ดูแลรักษาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นของส่วนรวม
คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าหรือการให้คุณค่าแก่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมรวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่เป็นสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของหรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน  (นวรินทร์ ตาก้อนทอง)
........
ตอนนี้ในหลายๆองค์กร โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐ ก็เริ่มนำคำนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย
และหลายองค์กร ได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางปฎิบัติ
เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กร

ทั้งนี้ เมื่อเข้าใจความหมายแล้ว ก็จะสามารถทำความเข้าใจ
และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมนะคะ
^________^


ติวเตอร์โป่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น